เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺญาสจฺฉิกรณียสฺส ได้แก่ ที่ควรทำให้
ประจักษ์ด้วยรู้ยิ่ง. บทว่า สติ สติ อายตเน ความว่า เมื่ออายตนะกล่าว
คือ บุรพเหตุ และประเภทแห่งฌานเป็นต้นที่จะพึงได้ในบัดนี้ มีอยู่ คือ
เมื่อเหตุมีอยู่ ก็กถาพรรณนาเรื่องอภิญญานี้ ของพระขีณาสพนั้น พึงทราบ
โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล. ส่วนบทว่า อาสวานํ
ขยา
เป็นต้น ในสูตรนี้พึงทราบว่า ตรัสไว้แล้วด้วยอำนาจผลสมาบัติ.
จบอรรถกถาสังฆสูตรที่ 10

11. สมุคคตสูตร



ว่าด้วยนิมิต 3


[542] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ควรมนสิการ
นิมิต 3 ตามกาลอันควร คือ มนสิการสมาธินิมิต (ข่มจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ใน
อารมณ์เดียว) ตามกาลอันควร มนสิการปัคคาหนิมิต (ทำความเพียรยกจิต
ให้อาจหาญแช่มชื่นขึ้น) ตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิต (เพ่งดูเฉย
อยู่ไม่ข่มไม่ยก เมื่อจิตเรียบร้อยแล้ว) ตามกาลอันควร
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตจะพึงมนสิการแต่สมาธินิมิตส่วนเดียวไซร้ เป็น
ฐานะอยู่ ที่จิตจะพึงเป็นไปทางโกสัชชะ (ความเกียจคร้านความซึมเซื่อง) ถ้า
จะพึงมนสิการแต่ปัคคาหนิมิตส่วนเดียวเล่า ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะเป็นไปทาง
อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ถ้าจะพึงมนสิการแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้
ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะไม่พึงตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะ

เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต มนสิการสมาธินิมิตตามกาลอันควร
มนสิการปัคคาหนิมิตตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิตตามกาลอันควร
เมื่อนั้นจิตนั้นจึงจะเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน เป็นจิตผุดผ่อง และมั่น
แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทอง เตรียมเบ้าติดไฟ เกลี่ยถ่าน
เอาคีมจับทองวางบนถ่านแล้ว สูบไปตามกาลอันควร พรมน้ำตามกาลอันควร
(หยุดสูบและพรหมน้ำ) เพ่งพิจารณาดู (ว่าสุกหรือยัง) ตามกาลอันควร
ถ้าช่างทองหรือลูกมือสูบเผาทองไปส่วนเดียว ก็เป็นได้อยู่ ที่ทองนั้นจะพึง
แก่ไฟ ถ้าพรมน้ำไปอย่างเดียว ก็เป็นได้อยู่ ที่ทองนั้นจะพึงอ่อนไฟ ถ้าหยุด
เพ่งพิจารณาดูอยู่อย่างเดียว ก็เป็นได้อยู่ ที่ทองนั้นจะไม่สุกดี เมื่อใด ช่างทอง
หรือลูกมือสูบเผาทองไปตามกาลอันควร พรมน้ำตามกาลอันควร หยุดเพ่ง
พิจารณาดูตามกาลอันควร เมื่อนั้น ทองนั้นจึงจะอ่อน ควรแต่งได้ สีสุก
และไม่แตก ใช้การได้ดี จะประสงค์ทำเป็นเครื่องประดับชนิดใด ๆ เช่น
เข็มขัด ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาล ก็ได้ตามต้องการ ฉันใด
ฉันนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ควรมนสิการ
นิมิต 3 ตามกาลอันควร คือ มนสิการสมาธินิมิตตามกำลังอันควร มนสิการ
ปัคคาหนิมิตตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิตตามกาลอันควร ถ้าภิกษุ
ผู้ประกอบอธิจิตจะพึงมนสิการแต่สมาธินิมิตส่วนเดียวไซร้ เป็นฐานะอยู่
ที่จิตจะเป็นไปทางโกสัชชะ. ถ้าจะพึงมนสิการแต่ปัคคาหนิมิตส่วนเดียวเล่า
ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะเป็นไปทางอุทธัจจะ ถ้าจะพึงมนสิการแต่อุเบกขานิมิต
โดยส่วนเดียวไซร้ ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะไม่พึงแน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความ
สิ้นอาสวะ เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต มนสิการสมาธินิมิตตามกาลอันควร

มนสิการปัคคาหนิมิตตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิตตามกาลอันควร
เมื่อนั้น จิตนั้นจึงเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน เป็นจิตผุดผ่องและมั่น แน่วแน่
เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
เธอน้อมจิต (อย่างนั้น) ไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งอภิญญา
สัจฉิกรณียธรรมใด ๆ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจ
ทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ (คือ)
(1) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างต่างวิธี ฯลฯ
(เหมือนสูตรก่อนจนจบ).
จบสมุคคตสูตรที่ 11
จบโลณผลวรรคที่ 5


อรรถกถาสมุคคตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสมุคคตสูตรที่ 11 ดังต่อไปนี้ :-
อธิจิต ได้แก่จิตในสมถะและวิปัสสนานั่นแล. บทว่า ตีณิ นิมิตฺ-
ตานิ
ได้แก่ เหตุ 3. บทว่า กาเลน กาลํ ได้แก่ ในกาลอันสมควร
อธิบายว่า ตลอดกาลอันเหมาะสม. ในบทว่า กาเลน กาลํ สมาธินิมิตฺตํ
มนสิกาตพฺพํ
เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุพึงกำหนดกาลนั้น ๆ แล้ว มนสิการ
ถึงเอกัคคตา (ความที่จิตมีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ) ในเวลาที่จิตประกอบด้วย
เอกัคคตา.